การเขียนนิยายให้สนุกและดูน่าเชื่อ ไม่ใช่แค่ลุกขึ้นมาจับปากกาแล้วเขียนหรือเปิดโน้ตบุ๊กแล้วนั่งพิมพ์ก็สามารถสร้างนิยายที่สนุกได้แล้ว แต่ต้องมีการวางพล็อตเรื่อง วางภูมิหลังและนิสัยตัวละคร นอกจากนั้นแล้วยังต้องค้นหาข้อมูลในเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับแต่ละช่วงไทม์ไลน์อายุของตัวละครนั้นๆ เพื่อให้คนอ่านรู้สึกว่าการดำเนินเรื่องไม่ติดขัดและมีความน่าเชื่อถือ
ในบทความนี้ เราเลยจะมาแนะนำเพื่อนๆ ให้รู้จักกับ 5 ทริครู้ไว้ไม่สาย รับรองว่าถ้าได้รู้ เขียนนิยายกี่เรื่องๆ ก็น่าเชื่อถือแน่นอน จะมีอะไรบ้างนั้น อ่านต่อได้เลยจ้า
ยังเห็นๆ อยู่หลายเรื่องเลยนะคะที่ตัวละครเป็นนักศึกษา แต่นักเขียนเขียนให้พวกเขาเข้าแถวเคารพธงชาติตอนแปดโมง!! ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีนะเออ เพราะงั้นถ้าน้องๆ คนไหนที่หัดเขียนนิยาย แล้วอยากเขียนนิยายวัยเรียนมหาลัย ต้องระวังเรื่องนี้มากเป็นพิเศษนะคะ ไม่อย่างนั้น ใครที่มาอ่านเจอ เขาคงจะหัวเราะและรู้ในทันทีแน่ๆ ว่าคนเขียนยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น ความน่าเชื่อถือและอรรถรสในการอ่าน
การจะสร้างตัวละครหนึ่งๆ ขึ้นมา จริงๆ แล้วเพื่อนๆ ควรจะกำหนดให้เด็ดขาดไปเลยนะคะว่าตัวละครตัวนั้นมีนิสัยเป็นยังไง พบเจออะไรมาบ้าง มีอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวละครตัวนั้น เพราะถ้าเพื่อนๆ หรือน้องๆ เขียนให้ตัวละครเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวปากร้าย เดี๋ยวดื้อเงียบ เดี๋ยวก็หัวร้อน หงุดหงิดง่าย เดี๋ยวก็ใจเย็นเป็นน้ำแข็ง รวมอยู่ในตัวละครตัวเดียว มันเป็นไปไม่ได้เลยค่ะที่จะทำให้ตัวละครตัวนั้นดูน่าเชื่อถือ
เชื่อเลยว่าต้องมีเพื่อนๆ หรือน้องๆ หลายคนที่เขียนนิยายไปสักพักแล้วหมดมุก ไปต่อไม่ถูก ไม่รู้จะเอายังไงกับเนื้อเรื่องต่อ เลยปล่อยตัวละครใหม่ออกมาดื้อๆ เพื่อต่อยอดให้เรื่องราวมันยังดำเนินต่อไปได้ แต่การปล่อยตัวละครใหม่ออกมาโดยไม่มีที่มาที่ไปให้ตัวละครตัวนั้น จะต้องแลกกับความน่าเชื่อถือจากนักอ่านที่ลดน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นแล้ว ก่อนที่เพื่อนๆ จะปล่อยตัวละครใหม่ออกมา ควรเกริ่นความเป็นมาของตัวละครตัวนั้นสักนิดนะคะ เช่น ตัวละครหลักพูดถึงตัวละครใหม่ หรือตัวละครใหม่อาจจะเป็นแฟนเก่าของตัวละครหลัก อะไรแบบนี้ก็ได้
นอกจากการปล่อยตัวละครแบบไม่มีที่มาที่ไปแล้ว การปล่อยตัวละครออกมามากเกินไปจนดูล้น แถมบางตัวละครก็ไม่มีบทบาทสำคัญอะไร จะมีหรือไม่มี ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อเนื้อเรื่อง ถ้าเป็นแบบนี้ควรตัดตัวละครตัวนั้นออกนะคะ ไปเน้นแค่ตัวละครที่ส่งผลต่อเนื้อเรื่องก็พอจ้า ปล่อยมาเยอะเกิน เดี๋ยวคนอ่านจำได้ไม่หมดนะเออ
‘ฉันรักคุณ’ ‘ฉันรักคุณนะ’ ‘ฉันรักคุณจริงๆ’ จริงแน่หรือ? แค่คำพูดยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คนอ่านเชื่อถือและศรัทธาได้หรอกค่ะว่าตัวละครที่เอื้อนเอ่ยคำพูดนี้รู้สึกอย่างที่ปากพูดจริงๆ ดังนั้นแล้ว การจะสร้างตัวละครที่จะทำให้คนอ่านอินและเชื่อว่าตัวละครตัวนั้นรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ ต้องหัดถ่ายทอดความรู้สึกนั้นๆ ผ่านการกระทำบ้าง หากทำได้ ความรักนั้นจะดูน่าเชื่อถือขึ้นมาอย่างแน่นอน